Job Safety Analysis การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย หรือที่เราเรียกว่า Job Safety Analysis : JSA เป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อเป็นการค้นหาอันตราย หรือ ชี้บ่งอันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนกิจกรรมงาน ซึ่งอันตรายนั้นอาจส่งผลกระทบให้ผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บ หรือเกิดโรคจากการทำงาน ซึ่งการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA จะต้องมีการ "กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันอันตราย" ของในแต่ละขั้นตอนกิจกรรมงานอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปจัดทำแผนเพื่อควบคุมความเสี่ยงอีกขั้นตอนหนึ่ง  และ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย JSA ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการเริ่มต้นนำไปจัดทำ คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อการค้นหาอันตรายในแต่ละกิจกรรมงาน อย่างเป็นระบบ
  2. เพื่อนำผลการวิเคราะห์อันตราย JSA ไปจัดทำเป็น คู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงานได้ด้วย
  3. เพื่อนำผลการวิเคราะห์อันตราย ไปประเมินระดับอันตราย หรือประเมินความเสี่ยง แล้วนำไปจัดทำแผนงานควบคุมอันตราย ในลำดับถัดไป
  4. เพื่อนำไปใช้ใน การปรับปรุง และแก้ไข สภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย

 

ใคร ที่จะต้องทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

1. หัวหน้างาน หรือ จป. หัวหน้างาน

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ เช่น จป. ระดับวิชาชีพ จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง

 

ขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมงานทั้งหมดในหน่วยงาน

ในขั้นตอนนี้ให้ทำการบันทึกงาน กิจกรรมต่างๆ ในความรับผิดชอบของหน่วยงานทั้งหมด ให้ครบถ้วน พร้อมระบุจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ระบุระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยอาจพิจารณาตามแนวทาง ดังนี้

1.1. งาน (Job) หมายถึง ภาระหน้าที่หรือเป้าหมายที่จะต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามมาตรฐาน จำนวน และระยะเวลาที่กำหนด เช่น งานตัดเหล็ก , งานอาร์คตะแกรง เป็นต้น ซึ่งงานโดยส่วนใหญ่จะมี 3 ประเภท ดังนี้

+++ ประเภท งานต่อเนื่อง/ งานประจำ

+++ ประเภท งานนาน ๆ จึงจะทำ เช่น การล้างทำความสะอาดเครื่องจักร

+++ ประเภท งานมีเงื่อนไขจึงจะทำ เช่น งานซ่อมเครื่องจักร เครื่องชำรุดจึงจะมีการซ่อม , งาน Rework ชิ้นงาน ชิ้นงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จึงจะมีการปฏิบัติงาน เป็นต้น

1.2. (หัวข้อนี้เป็นเพียงคำแนะนำ) การระบุชื่องาน หรือเขียนชื่องาน ถ้าระบุให้ชัดเจนถึงลักษณะการทำงานได้จะเป็นการดี เพื่อการนำไปสื่อสาร หรือ ฝึกอบรม เช่น

+++ ระบุชื่องาน ตามด้วยชื่อเครื่องจักร เช่น งานตัดเหล็กด้วยเครื่องตัด , งานอาร์คตะแกรงด้วยเครื่องอาร์ค No.2

+++ งานเจียเหล็ก ที่ลักษณะชิ้นงานมีขนาดเล็ก แล้วการปฏิบัติเป็นการจับชิ้นงานมาเจีย กับเครื่องเจียที่ติดตั้งอยู่กับที่ ซึ่งจะแตกต่างกับ ลักษณะงานที่ชิ้นงานใหญ่ แล้วการปฏิบัติงานเป็นลักษณะใช้เครื่องเจียแบบมือถือ แล้วผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนที่ไปเจียในจุดต่างๆ ของชิ้นงาน

+++ งานบางลักษณะ จะเป็นงานแบบเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยการขับ ลาก จูง แบก หาม เช่น งานยกสินค้าเข้าคลังด้วยรถยก

 

ขั้นตอนที่ 2 เลือกงานที่จะวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

ในการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง งานทุกงาน กิจกรรมทุกกิจกรรม ควรทำการวิเคราะห์อันตรายเพื่อความปลอดภัยทั้งหมด แต่บางครั้งเราต้องจัดลำดับ เลือกงานที่ประเมินเบื้องต้นแล้วมีความเสี่ยงสูง เลือกงานนั้นขึ้นมาทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยก่อน โดยอาจพิจารณาจากข้อมูล ดังนี้

++ ข้อมูลอุบัติเหตุ เคยเกิดอุบัติเหตุ / เกิดอุบัติเหตุบ่อย

++ งานที่ต้องทำเป็นประจำ ทำต่อเนื่อง มีผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมาก

++ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 3 เลือกขั้นตอนงาน ที่จะวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

โดยให้แบ่งแยกขั้นตอนการทำงาน ออกเป็นลำดับก่อน-หลัง แล้วนำข้อมูลขั้นตอนงานเขียนลงในช่อง "ขั้นตอนงาน" โดยมีข้อควรระวัง / ข้อแนะนำในการเขียนขั้นตอนงาน ดังนี้

+++ ผู้ทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ควรคุ้นเคย หรือ รู้จักงานที่วิเคราะห์ฯ หรือไม่ก็ให้เข้าไปสังเกตุการทำงาน ณ จุดปฏิบัติงาน

+++ ขั้นตอนงาน ไม่ควรแบ่งให้ละเอียดเกินไป หรือหยาบจนเกินไป

+++  ขั้นตอนงาน คือ ทำอย่างไร (Action Steps)

 

ขั้นตอนที่ 5 ค้นหาอันตรายแต่ละขั้นตอนการทำงาน

ในขั้นตอนนี้ เราต้องตรวจสอบ ค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนงาน แล้วนำมากรอกลงในช่อง "อันตราย" ซึ่งอันตรายที่มีในแต่ละขั้นตอน อาจจะเป็นแบบที่ปรากฎอยู่ มองเห็นได้ ใช้สามัญสำนึกก็รู้ได้ว่าเป็นอันตราย กับ อันตรายแบบที่ต้องสังเคราะห์ วิเคราะห์ ใช้ความรู้ หลักวิชาการในการพิจารณา โดยผู้ทำการวิเคราะห์งาน อาจพิจารณาลักษณะอันตราย ได้ดังนี้

+++ อันตรายจากเครื่องจักร เช่น การถูกหนีบ ถูกกระแทก

+++ อันตรายจากของมีคม เช่น วัตถุดิบ ชิ้นงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ

+++ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า

+++ อันตรายจากพื้นที่ การลื่น หกล้ม สะดุด หรือ ตกจากที่สูง

+++ อันตรายจากชิ้นงาน หรือวัสดุที่อาจล้มทับ ตกใส่

+++ อันตรายจากการยก เข็น ลาก ผลักดันวัตถุที่มีน้ำหนักมาก

+++ อันตรายจากสารเคมี

+++ อันตรายจาก วัตถุกระเด็นใส่

ซึ่งการระบุ อันตราย จะชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าสามารถระบุ อวัยวะ หรือ ส่วนของร่างกายที่รับอันตรายได้ เช่น กระเด็นใส่ตา หนีบมือ ตกใส่เท้า เป็นต้น อีกทั้งยังทำให้ การกำหนดมาตรการควบคุม และป้องกันได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 6 กำหนดมาตรการ วิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย

หลังจากที่เราทราบอันตราย ในแต่ละขั้นตอนงานแล้ว เราก็ต้องกำหนดมาตรการ วิธีป้องกันอันตรายและปรับปรุง แล้วกรอกลงในช่อง "มาตรการ การป้องกันและควบคุมอันตราย"

 

ขั้นตอนที่ 7 จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ในการจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้วยการนำ มาตรการวิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย (ในขั้นตอนที่ 6) ของในแต่ละงาน มาจัดเรียงใหม่ให้ ซึ่งอาจพิจารณา ดังนี้

+++ เรียงลำดับก่อน - หลัง ซึ่งอาจจัดกลุ่มเป็น มาตรการที่ต้องปฏิบัติในขั้นตอนการเตรียมก่อนเริ่มงาน , มาตรการที่ต้องปฏิบัติ ในขั้นตอนขณะปฏิบัติงาน และ มาตรการที่ต้องปฏิบัติ ในขั้นตอนการปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว

+++ รวบรวม มาตรการวิธีป้องกันอันตรายและควบคุมอันตราย ของแต่ละงาน ทุกๆ งานของหน่วยงานมาจัดทำเป็น คู่มือฯ ของหน่วยงาน

 

** ติดต่อ จป.หน่อย เป็นวิทยากรอบรม : หลักสูตรการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (๋Job Safety Analysis : JSA) เพื่อจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยฯ ของหน่วยงาน

>>>>  E-mail : safetypromanag@gmail.com

 

เอกสารอ้างอิง : คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน เทคนิคการค้นหา ประเมินและควบคุมจดเสี่ยง โดย อ.โสภณ พงษ์โสภณ

คำค้นหา : JSA , Job Safety Analysis , การวิเคราะห์อันตรายในงาน , วิเคราะห์อันตราย , จป. วิชาชีพ , การชี้บ่งอันตราย , เลือกงานอันตราย , จป. หัวหน้างาน , หน้าที่ จป. , เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า