นโยบายความปลอดภัย ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

สวัสดีครับสมาชิกเว็บไซต์ จอปอหน่อย ทุกท่าน วันนี้ เราจะมาสรุปข้อกฎหมาย เกี่ยวกับ นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องดำเนินการอย่างไรในการจัดทำ และ นโยบายฯ ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

นโยบายความปลอดภัยในการทำงาน

ความหมายของคำว่า นโยบาย (Policy) ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  แปลว่า หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ. (ป. นย + อุปาย)

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงเป็นการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการประกอบกิจการฯ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายความปลอดภัย

 

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๖๕  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๕ และ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา คือเริ่มมีผลบังคับเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

** ในข้อ ๑๓ ได้กำหนดว่า ในกรณีที่ได้จัดทำ ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานอื่นๆ แล้ว ให้ถือว่าได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว เช่น มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (Internationnal Standardization for Organization : ISO) **

ในกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้ ได้กำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับ นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ใว้ในข้อ ๕ ว่า ระบบการจัดการด้านปลอดภัย อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(๑) นโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

(๒) การจัดองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(๓) แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำไปปฏิบัติ

(๔) การประเมินผล และ การทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

(๕) การปรับปรุง และ การพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

 

แต่ในบทความนี้ จอปอหน่อย จะขอกล่าวถึง หัวข้อที่ (๑) นโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

หน้าที่ของนายจ้าง ในการจัดทำนโยบายความปลอดภัย

 

ในข้อที่ ๖ ได้กำหนด หน้าที่ของนายจ้างไว้ เกี่ยวกับการจัดทำนโยบายความปลอดภัย  ดังนี้

++ จัดให้ลูกจ้างมีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบาย

สอดคล้องกับ หน้าที่ของ คณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในข้อ ๓๒ (๑) ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีหน้าที่ จัดทำนโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง

++ เผยแพร่ นโยบายฯ ให้ลูกจ้างทราบอย่างทั่วถึง

++ เผยแพร่ นโยบายฯ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง

การเผยแพร่ ก็มีด้วยกันหลายวิธีการ เห็นเป็นที่นิยม เช่น การติดป้ายประกาศในจุดที่สำคัญ , แจ้งให้ทราบโดยมีกำหนดในหัวข้อ หลักสูตรอบรมพนักงานใหม่ , ลงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เป็นต้น

++ จัดทำนโยบายเป็นภาษาไทย หรือจะมีภาษาอื่นที่ลูกจ้างเข้าใจด้วยก็ได้

การจัดทำนโยบายฯ ต้องเป็นภาษาไทยก่อน ซึ่งจะมีภาษาอื่นร่วมด้วยก็ได้ ที่ลูกจ้างเข้าใจ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาพม่า เป็นต้น

++ ลงลายมือชื่อของนายจ้าง พร้อมประทับตรารับรอง และ ลงวันที่ให้ถูกต้องครบถ้วน

++ จัดทำ นโยบายฯ ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้

++ จัดให้มีการ ทบทวนนโยบายความปลอดภัยฯ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

 

องค์ประกอบของนโยบายความปลอดภัย

 

ในข้อที่ ๗ นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องมีความสอดคล้องกับสภาพการทำงาน และ กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ดูความหมายของ ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔)
  • เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คำค้นหา : นโยบายความปลอดภัย , การจัดทำนโยบายความปลอดภัย , การกำหนดนโยบายความปลอดภัย , กฎกระทรวงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย , จป.วิชาชีพ , มาตรฐานการบริหารความปลอดภัย

ไปที่หน้าสารบัญรายการบทความ

คลิกที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า