จป. เริ่มงานใหม่ กับ 3 job ที่ต้องทำเมื่อเริ่มต้นอาชีพ

หลังจากที่เฝ้ารอ ขยัน อดทน ร่ำเรียนจนจบหลักสูตร "อาชีวอนามัยและความปลอดภัย" แล้ว น้องๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องก้าวเท้าเข้าสู่รั้วโรงงาน (เริ่มต้นชีวิตในการทำงาน) ในอาชีพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ  แล้ว จป. เริ่มงานใหม่  มักจะมีคำถามในใจของหลายๆคน ว่า…..

จะเริ่มต้นงาน Safety สำหรับ จป มือใหม่ จากตรงไหนดี ?

หลายๆ คนอาจจะโชคดี ที่เมื่อเข้ามาทำงานในสถานประกอบกิจการแล้ว มีพี่ๆ มีเพื่อน มีทีมงาน และมีระบบงานที่พร้อมให้เราได้สานต่อ ได้เรียนรู้ ได้ปรึกษา แต่ว่าหลายๆ คน (รวมทั้ง จป. หน่อยด้วย) เคยพบกับสิ่งเหล่านี้...

ทั้งโรงงานพนักงาน 1,000 กว่าคน มี จป. คนเดียว!

ตำแหน่ง จป. ขึ้นตรงต่อ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการ !

โรงงานนี้ ไม่เคยมี จป. ระดับวิชาชีพมาก่อนเลย และอย่าคาดหวังว่า จะมีระบบงาน Safety อะไรเลย!

อีกทั้ง พนักงาน หรือ หัวหน้างาน ไม่รู้ว่า จป. มีหน้าที่ทำอะไร? ในโรงงาน

ฯลฯ

โอ้ย….อยากจะร้องให้

 

แต่บทความนี้ jorporHnoy จะมาแนะนำ (จากประสบการณ์) สำหรับการเริ่มต้น ในการทำงานในอาชีพ จป. กัน

 

จป. เริ่มงานใหม่ ในเดือนแรก

ในช่วง สัปดาห์แรกๆ แนะนำให้ จป. เข้าไปทำความรู้จัก - เข้าไปทักทายพูดคุยกับหัวหน้างาน และพนักงานไว้ก่อนเลย

*จป.หน่อย มักเข้าไปทักทายพนักงานในไลน์ ขณะเดินสำรวจพื้นที่ภายในบริเวณโรงงาน ค่อยๆ เริ่มพูดคุยกับเขา เคยมีครั้งหนึ่งคุยกับพนักงานจนสนิท รู้ไหมครับ พนักงานคนนั้นเริ่มเล่าเลยว่าใคร (โดยเฉพาะหัวหน้า) เป็นอย่างไร? เลยได้ข้อมูลไว้เป็นแนวทางเพียบเลย

 

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ พนักงานแล้ว เราก็มาเริ่มต้นสำรวจ และเก็บข้อมูลกันเลย

๑. สำรวจหน้างาน

: โดยการเดินสำรวจพื้นที่และเครื่องจักร รวมทั้งขั้นตอน วิธีการทำงาน ตั้งแต่ต้นไลน์ จนถึง ท้ายไลน์

โดยมีแนวทางทำได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 – ดูในภาพรวมทั้งหมดก่อน โดยที่ยังไม่เจาะในรายละเอียด

แบบที่ 2 – เจาะในรายละเอียดแบบแยกเป็นส่วนงาน (เช่น ตาม Process หรือ ตามพื้นที่)

 

๒. สำรวจเอกสาร

: โดยการดูแฟ้มงานเก่าๆ หรือสอบถามจากคนเก่า เพื่อดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน Safety

เพื่อดูว่ามีระบบงาน หรือเอกสารอะไรบ้างที่ได้มีการดำเนินการและจัดทำไว้แล้ว เช่น ประกาศแต่งตั้ง จป.ระดับต่างๆ, ประกาศแต่งตั้ง คปอ. เป็นต้น และอย่าลืม ดำเนินการประกาศแต่งตั้ง และแจ้งชื่อ จป. ของตนเองด้วยนะ

 

๓. สำรวจโครงสร้างองค์กร รวมทั้งจำนวนพนักงาน

โดยสำรวจว่าในโรงงาน มีกี่แผนก/กี่หน่วยงาน มีหัวหน้างาน มีผู้จัดการกี่คน และในแต่ละแผนกมีพนักงานกี่คน (อาจจะแยกชาย-หญิงก็ยิ่งดี)

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว เราก็มาเริ่มทำงานกันเลย…….

 

3 job ที่แนะนำให้เริ่มทำก่อน

Job No.1    : ทำChecklist หรือทำทะเบียนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โดยอาจจะเริ่มต้นจากกฎหมายของกระทรวงแรงงานก่อนก็ได้

ว่าที่บริษัทฯ นี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวไหนบ้างแยกประเด็นว่าอะไรที่ทำถูกต้องและสอดคล้องตามกฎหมายแล้ว และประเด็นอะไรที่ยังไม่สอดคล้องตามที่่กฎหมายกำหนด

ให้ทำเป็น Checklist หรือสรุปหัวข้อกฎหมาย หรือประเด็นสำคัญ ออกมาเป็นรายการ เป็นข้อๆ

 

Job No.2  :  จัดทำเอกสารชี้บ่ง(ค้นหา)อันตรายและประเมินความเสี่ยง

หลังจากที่เราได้สำรวจ ตรวจสอบพื้นที่แล้ว เราก็พอมีข้อมูลที่จะนำมาชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง โดยกำหนดจุดปฏิบัติงาน หรืองานที่จะทำการประเมินความเสี่ยง

ซึ่งเราอาจจะทำไปทีละพื้นที่ (วางกรอบพื้นที่ให้ได้) หรือทำไปทีละเรื่อง (ประเด็น) จะเห็นผลงานได้ดีกว่า (ผลงานออกเร็ว) อย่าทำแบบกระจายๆ (แบบอันนั้นนิด อันนี่หน่อย)

และสิ่งสำคัญ อย่ารอเวลาให้พร้อมหรือสมบูรณ์แบบแล้วค่อยลงมือทำ

แต่ควรลงมือทำไปก่อน ให้เห็นผลงานหรือเห็นเนื้องาน แล้วเราจะมีแนวทางนำมาทบทวนแก้ไข-ปรับปรุงทีหลังจะดีกว่า (หลักการ P-D-C-A)

 

Job No.3  : ทำแผนงาน และดำเนินการตามแผน

นำข้อมูลที่ได้จาก Job No.1 กับ Job No.2  มาจัดทำแผนงานดำเนินการ เรียงลำดับความสำคัญในการดำเนินการ

หัวข้อใดควรทำก่อน หัวข้อใดควรทำลำดับต่อไป หัวข้อใดรอได้

แนวทางการพิจารณาทำก่อน (ไม่มีสูตรสำเร็จ นำไปปรับพิจารณาตามความเหมาะสมกับองค์กร) เช่น

– ความยาก ง่าย ในการดำเนินการ

– ใช้งบประมาณหรือไม่ เท่าไหร่?

– ผลกระทบถ้าไม่ดำเนินการ(ความรุนแรงของปัญหา)

– สถิติอุบัติเหตุ /ผลการประเมินความเสี่ยง

หลังจากที่เราประเมิน พิจารณาแล้ว แยกเป็นหัวข้อใดเรียงตามลำดับ

 

ส่วนหัวข้อที่ จป. ไม่สามารถดำเนินการเองได้ หรือต้องใช้งบประมาณ

…..ให้ทำเป็นโครงการ เข้าสู่ที่ประชุม คปอ. เพื่อเสนอให้ผู้บริหารอนุมัติ…….

 

ตัวช่วยสำหรับ จป มือใหม่

jorporHnoy ขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยเริ่มต้นงาน จป.

ได้อย่างมืออาชีพและไปได้เร็วกว่า กับ  3 โปรแกรมฐานข้อมูลที่ประยุกต์สร้างมาจาก Ms. Access

 

  1. ทำ Checklist กฎหมาย ด้วย……โปรแกรมฐานข้อมูลทะเบียนกฎหมาย

ทำทะเบียนกฎหมาย / สรุปสาระสำคัญของกฎหมาย / ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย

 

  1. ทำแผนงาน ด้วย…….โปรแกรมแผนงานSAFETY [CALENDAR SAFETY]

สะดวกด้วยรายการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายมีให้ในโปรแกรมแล้ว

 

  1. ทำประเมินความเสี่ยง ด้วย……โปรแกรมฐานระบบงานประเมินความเสี่ยง

ตัวช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดทำเอกสาร ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

 

ขอบคุณครับ

jorporHnoy

ไปหน้าสารบัญ "บทความ Safety"

คลิกที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า