กฎหมายห้องส้วม ห้องน้ำ จับประเด็นกฎหมายอาคาร

ในการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องกับ กฎหมายห้องส้วม และห้องน้ำในอาคารโรงงาน จะมีกฎหมายเบื้องต้น ที่อยากให้เราประเมินความสอดคล้อง ด้วยกัน ๓ ฉบับดังนี้

ฉบับแรก เป็นกฎหมายที่ออกโดย กระทรวงแรงงาน คือ

กฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๘

ได้กำหนดไว้ใน ข้อ ๑ (๒) โดยกำหนดให้นายจ้างจัดให้มี ห้องน้ำและห้องส้วม ตามแบบและจำนวนตามที่กำหนดในกฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งเป็นการกำหนดโดยอ้างอิง หรือ ให้เราไปดูรายละเอียดในกฎหมายที่ว่าด้วยการ "ควบคุมอาคาร" ซึ่งเป็น "กฎหมายที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย"

 

ฉะนั้นฉบับถัดมา กฎหมายที่เกี่ยวกับห้องส้วม ฉบับที่ ๒ คือ

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๘ (๕) ว่า "แบบและจำนวนของห้องน้ำ ห้องส้วม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงกำหนด"

 

ซึ่งจากการค้นหากฎกระทรวงฯ ที่ออกตามมาตรา ๘ ก็จะพบ กฎหมายห้องส้วม ฉบับที่ ๓ คือ

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ และมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วันนับแต่วันประกาศ

ซึ่งกฎกระทรวงฉบับนี้ สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

 

ประเด็นที่ ๑ :  ห้องน้ำและห้องส้วม จะแยกจากกัน หรือ รวมอยู่ในห้องเดียวกันก็ได้

ประเด็นที่ ๒ : ห้องน้ำและห้องส้วม ต้องสร้างด้วยวัสดุทนทาน และทำความสะอาดได้ง่าย

ประเด็นที่ ๓ : ความสูงจากพื้นถึงเพดานต้องไม่ต่ำกว่า ๒ เมตร (โดยให้วัดจากตอนที่ต่ำที่สุด)

ประเด็นที่ ๔ : มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของพื้นที่ห้อง หรือ มีพัดลมระบายอากาศ

ประเด็นที่ ๕ : พื้นของห้องส้วม ต้องมีความลาดเอียง และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุด

ประเด็นที่ ๖ : ที่ปัสสาวะ (โถปัสสาวะ) ต้องมีระบบการดักกลิ่นและเป็นแบบใช้น้ำชำระลง

ประเด็นที่ ๗ : ในกรณีที่อาคารมีหลายชั้น ให้จัดตามความจำเป็นและเหมาะสม

ประเด็นที่ ๘ : มีพื้นที่ภายในแต่ละห้องไม่น้อยกว่า ๐.๙ ตารางเมตร

ประเด็นที่ ๙ : กรณีห้องน้ำและห้องส้วม รวมอยู่ในห้องเดียวกัน ต้องมีพื้นที่ภายในไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ ตารางเมตร

 

ตามกฎกระทรวง ห้องส้วมต้องมีจำนวนเท่าไหร่

แบบและจำนวนห้องน้ำและห้องส้วมของ "อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน" ให้เป็นไปตามประกาศแนบท้าย ดังนี้

-  จำนวนคนงานชาย ไม่เกิน ๑๕ คน  [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ ๑ ที่ และ ที่ถ่ายปัสสาวะ ๑ ที่   --  ห้องน้ำ ๑ ที่

-  จำนวนคนงานหญิง ไม่เกิน ๑๕ คน [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ ๒ ที่ -- ห้องน้ำ ๑ ที่

-  จำนวนคนงานชาย ตั้งแต่ ๑๖ - ๔๐ คน  [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ ๒ ที่ และ ที่ถ่ายปัสสาวะ ๒ ที่   --  ห้องน้ำ ๒ ที่

-  จำนวนคนงานหญิง ตั้งแต่ ๑๖ - ๔๐ คน [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ ๔ ที่ -- ห้องน้ำ ๒ ที่

-  จำนวนคนงานชาย ตั้งแต่ ๔๑ - ๘๐ คน  [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ  ๓ ที่ และ ที่ถ่ายปัสสาวะ ๓ ที่  --  ห้องน้ำ ๓ ที่

-  จำนวนคนงานหญิง ตั้งแต่ ๑๖ - ๔๐ คน [ห้องส้วม] ห้องถ่ายอุจจาระ ๖ ที่ -- ห้องน้ำ ๓ ที่

-  จำนวนคนงานที่เกิน ให้เพิ่มอย่างละ ๑ ที่ ต่อจำนวนงานงานทุก ๕๐ คน

 

ห้องส้วม

ข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯนี้ :

อาคารที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนในวันที่มีผลบังคับใช้ กฎกระทรวงฯ แต่ถ้ามีการดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวง

ไปหน้าสารบัญ "บทความ Safety"

คลิกที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า